Coming Soon!

ความมั่นคงทางด้านอาหาร ปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกต่างเผชิญ

food1

Share This Post

Share on facebook
Share on linkedin
Share on twitter
Share on email

ความมั่นคงทางด้านอาหาร (Food-Security) กลายเป็นสิ่งที่หลายองค์กรและองค์กรระหว่างประเทศได้หยิบขึ้นมาประเด็นที่ทั่วโลกต้องกังวล โดยเฉพาะการขาดแคลนอาหารที่เป็นปัญหาใหญ่สำหรับหลายประเทศตั้งแต่เดิมอยู่แล้ว และเมื่อมีโควิด-19 เข้ามาแพร่ระบาดไปทั่วโลกอีกจึงเป็นประเด็นที่เข้ามาซ้ำเติมปัญหานี้ให้มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

จากข้อมูลองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) พบว่าในปี 2019 ประชากรโลกกว่า 2 พันล้านคน หรือคิดเป็น 25.9% ของประชากรทั้งโลก ที่ต้องเจอกับความไม่มั่นคงทางอาหาร และยิ่งในวิกฤตโควิด-19 นี้แล้วด้วยแนวโน้มของสถานการณ์จะยิ่งเลวร้ายเข้าไปอีก

food2

ด้านองค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ระบุว่ามีประชากรโลกมากกว่า 135 ล้านคน ที่เข้าสู่ภาวะอดอยากในปี 2019 ซึ่งสอดคล้องกับองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ให้ระบุว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีจำนวนประชากรที่ขาดแคลนอาหารเพิ่มขึ้นเกือบ 60 ล้านคนทั่วโลก ด้านข้อมูลจากโครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ (World Food Program : WFP) พบว่าในปี 2020 มีคนกว่า 265 ล้านคนที่เสี่ยงอดอยากขาดแคลนอาหารยิ่งขึ้นจากโควิด

ความมั่นคงทางด้านอาหารคืออะไร?

ตามนิยามขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หมายถึง สภาวะที่คนมีความสามารถทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจในการเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ ในทุกขณะเวลา

food3

โดยมีการแบ่งองค์ประกอบเป็น 4 ด้าน

1. การมีอาหารเพียงพอ (Food Availability): การมีอาหารในปริมาณที่เพียงพออยู่อย่างสม่ำเสมอ

2. การเข้าถึงอาหาร (Food Access): การมีทรัพยากรที่เพียงพอในการได้มาซึ่งอาหาร

3. การใช้ประโยชน์จากอาหาร (Food Utilization): การมีความเข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์จากอาหารได้อย่างเหมาะสม และสามารถจัดเตรียมอาหารให้ถูกสุขอนามัย

4. การมีเสถียรภาพด้านอาหาร (Food Stability): การเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอตลอดเวลา

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารคืออะไร?

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางด้านอาหารไม่ได้มีเพียงความอยากจนเท่านั้น แม้สาเหตุความอยากจนจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ครัวเรือนไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้อยากเพียงต่อ แต่ครัวเรือนที่มีรายได้สูงกว่าเส้นความยากจนก็อาจะเสี่ยงที่จะเผชิญกับความไม่มั่นคงได้เช่นกัน

food4

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารของประชากรโลก

1. การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรโลก

2. ภาวะโลกร้อนที่ส่งผลโดยตรงต่อการลดลงของพื้นที่ทำการเกษตร

3. การขาดแคลนน้ำที่เป็นปัจจัยการผลิตสำคัญในการเกษตร

4. การขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้น

5. พฤติกรรมการบริโภคที่ก่อให้เกิดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร

นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้วยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร เช่น พื้นที่ทำการเกษตรที่ลดลงจากการขยายของเขตเมือง ปัญหาดินที่เสื่อมโทรมจากการทำการเกษตรที่มากเกินไป เพราะฉะนั้นแล้วการทำการเกษตรแบบ โครงการ Plant Factory จึงมีส่วนช่วยแก้ปัญหาด้านพื้นที่การทำการเกษตรที่ลดลง และปัญหาดินเสื่อมโทรมได้ เพราะการทำการเกษตรแบบ Plant Factory เป็นการปลูกพืชในโรงเรือนแบบปิดโดยมีการรับน้ำประปาผ่านระบบกรองน้ำ จากนั้นน้ำจากถังเก็บจะถูกปรับภาพและสัดส่วนของปริมาณปุ๋ยโดยอาศัยชุดควยคุมปริมาณการป้อนปุ๋ยอัตโนมัติเพื่อเตรียมน้ำผสมกับปุ๋ยตามสภาวะที่พืชต้องการและมีระยะเวลาการปลูกที่สั้นการการปลูกด้วยระบบการเกษตรแบบเดิมจากการปลูกในดินใช้เวลา 60-75 วัน แต่ Plant Factory ใช้ระยะเวลาปลูกเพียง 30 วันเท่านั้น

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

รูปแบบการทำเกษตร Smart Farming ในประเทศไทย

เทรนด์ การเกษตรดิจิทัล 2022

การเกษตรยุคใหม่ กับการปรับใช้ให้เข้ากับยุค 5G



ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ Plant Factory ได้ที่:
Facebook: https://www.facebook.com/thaiplantwiki

More To Explore

Do You Want To Boost Your Business?

drop us a line and keep in touch