Coming Soon!

ไฮโดรโปนิกส์ ปลูกพืชได้ไม่ง้อดิน

Hydroponic

Share This Post

Share on facebook
Share on linkedin
Share on twitter
Share on email

ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponic) เริ่มเป็นที่รู้จักขึ้นโดย ดร.เจอร์ริค แห่งมหาวิทยาลัยมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ได้ทำการทดลองปลูกพืชโดยใช้เทคนิควิธีการปลูกพืชในน้ำสารละลายอาหารเป็นผลสำเร็จ และนับจากนั้น การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินก็ได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ไฮโดรโปนิกส์ คือการปลูกพืชในน้ำที่ผสมสารละลายอาหารปลูกเลี้ยง หรือที่เรียกกันว่า “ปุ๋ยน้ำ” โดยผักที่ปลูกแบบนี้ส่วนมากจะเป็นผักกินใบ และเป็นพืชระยะสั้นที่เก็บเกี่ยวในระยะเวลาอันรวดเร็ว ผักที่นิยมปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ได้แก่ เรดโอ๊ค กรีนโอ๊ค ร็อคเก็ต  ฟิลเลย์ กรีนคอส บัตเตอร์เฮด ผักกาดหอม โดยระยะเวลาในเก็บเกี่ยวประมาณ 40 -60 วัน ซึ่งผักส่วนใหญ่นั้นจะใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหารในเมนูสลัดผักที่มักจะรับประทานสด ๆ

สามารถแบ่งวิธีการปลูกได้เป็น 3 แบบ ได้แก่

ขอบคุณรูปจาก zen-hydroponics

1. NFT (Nutrient Film Technique)

เป็นวิธีการให้สารละลายธาตุอาหารมีการไหลหมุนเวียน โดยรากของพืชจะได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ด้วยหลักการทำงานง่าย ๆ คือ ให้สารอาหารไหลผ่านรากพืช เป็นลักษณะสายน้ำบาง ๆ เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับรากพืชโดยตรง ส่วนระบบน้ำจะหมุนเวียนกลับมาใช้งานได้ต่อเนื่อง ซึ่งวิธีการนี้เป็นที่นิยมในประเทศไทยในขณะนี้

drft
ขอบคุณรูปจาก zen-hydroponics

2. DRFT (Dynamic Root Floating Technique)

เป็นระบบการให้สารอาหารแก่รากพืชโดยตรง และยังมีการเติมอากาศด้วยการใช้ปั๊มลมช่วยในการให้ออกซิเจน โดยรากพืชจะจุ่มอยู่ในสารอาหารโดยตรงและสามารถเคลื่อนไหวไปมาได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า “การปลูกพืชแบบลอยน้ำ” ซึ่งวิธีนี้เป็นที่นิยมเพราะใช้พื้นที่เล็ก สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้

ขอบคุณรูปจาก zen-hydroponics

3. DFT (Deep Flow Technique) 

เป็นระบบปลูกที่ให้สารละลายธาตุอาหาร ไหลผ่านรากพืชอย่างต่อเนื่องและหมุนเวียน เหมือนการปลูกพืชแช่น้ำ ซึ่งระดับน้ำจะสูงประมาณ 5-10 ซม. โดยน้ำจะไหลผ่านรากพืชอย่างช้า ๆ สม่ำเสมอ

ข้อดีของระบบไฮโดรโปนิกส์

1. สามารถปลูกพืชได้ทั้งปี ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตให้สูงขึ้นกว่าแบบเก่า 50-100%
2. ดูแลได้ทั่วถึงเนื่องจากเป็นระบบที่ง่ายต่อการควบคุมและป้องกันโรคและแมลง โดยไม่ใช้สารเคมีกำจัดแมลง 100% และไม่มีปัญหาในการกำจัดวัชพืชในพื้นที่ปลูก
3. ประหยัดน้ำและปุ๋ย เพราะสามารถควบคุมได้ตามที่พืชต้องการ
4. ไม่ต้องไถพรวน ซึ่งช่วยลดการทำลายหรือชะล้างหน้าดิน
5. มีผลผลิตสม่ำเสมอ และอายุเก็บเกี่ยวเร็วขึ้น เนื่องจากพืชสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้อย่างสม่ำเสมอ
6. ผลผลิตที่ได้มีความสะอาด สด คุณภาพดี และที่สำคัญคือ ปลอดสารพิษ
7. สามารถพัฒนาการปลูกไปในเชิงพาณิชย์ได้

ข้อเสียของระบบไฮโดรโปนิกส์

การปลูกผักด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ได้มีการดัดแปลงแก้ไขและปรับปรุงระบบเรื่อยมา ทำให้สามารถลดข้อเสียที่เคยเกิดขึ้นได้ เช่น

1.ข้อเสียในเรื่องของเทคโนโลยีต่างประเทศที่มีราคาสูง ซึ่งตอนนี้สามารถใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาดัดแปลงได้

2.ความหลากหลายของพืชที่ปลูกไร้ดิน ในช่วงแรกจะเป็นการปลูกเฉพาะผักต่างประเทศ แต่ปัจจุบันสามารถปลูกได้ทั้งผักไทย ผักจีน

3.ผู้ปลูกต้องมีความรู้อย่างแท้จริงสำหรับการปลูกพืชไร้ดิน แต่ในปัจจุบันได้มีเอกสารแนะนำ และสามารถขอข้อมูลจากสำนักงานเกษตรได้ทุกพื้นที่

4.เรื่องของตลาด ซึ่งปัญหานี้ปัจจุบันไม่ได้นับเป็นปัญหาแล้ว เพราะผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น

ซึ่งโครงการ Plant Factory ก็ได้นำเอาเทคนิคการทำการเกษตรแบบไร้ดิน มาประยุกต์ใช้ ก่อให้เกิดเป็นโรงงานเพาะปลูกเช่นกัน

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

รูปแบบการทำเกษตร Smart Farming ในประเทศไทย


ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ Plant Factory ได้ที่:

Facebook: https://www.facebook.com/thaiplantwiki

More To Explore

Do You Want To Boost Your Business?

drop us a line and keep in touch